กิเลสมนุษย์
โดย พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)
วันนี้เป็นวันฟังธรรม เป็นวันสร้างบุญสร้างกุศลใน วันธรรมสวนะ ทุกวันพระ ชาวพุทธอย่าได้ขาดประกาศตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา แทรกธรรมในพระบวรพุทธศาสนามาตามลำดับ แต่ เป็นที่น่าเสียดายมากว่า คนไทยเป็นชาว พุทธมาแต่กำเนิดครั้งปู่ย่า ตายาย ประเพณีเดิมของไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งมหาบพิตรสมภารเจ้าก็ทรงเป็นพุทธมามกะในพระพุทธศาสนาด้วยนอกเหนือจากนั้นก็ทรงเป็นศาสนูปถัมภก ยกย่องพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ในหลักการเรามีพระพุทธศาสนาประจำชาติไทยมานานแล้ว มีศาสนาประจำจิตประจำใจประจำหมู่ ประจำคณะ ประจำครอบครัวของเรา ในบ้านที่มีทั้งพ่อพระ แม่พระ อยู่เย็นเป็นสุข สร้างความสนุกใน สังคมด้วยธรรมะและคุณค่าทุกชีวิตไม่พลาดผิดในสังคมนั้น มีมากหน้าด้วยกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายและเสียใจกลับตรงกันข้าม หน้ามือเป็นหลังมือ คนยุคใหม่สมัยโลกา ภิวัตน์ แต่ไม่ภิวัตน์ ไม่พัฒนา กลับเลวร้ายในสังคมมากมาย จะเป็นหนุ่มและเป็นสาวหน้าขาว ๆ ในสังคม ขาดการเคารพผู้ใหญ่ ไม่มีระเบียบวินัย ประเพณีวัฒนธรรมของชาติก็สูญไปแล้ว ไร้ประเพณี ไร้วัฒนธรรม กิจกรรมก็ไม่มีประโยชน์ และดังที่กล่าวแล้วนี้ เป็นที่น่าเสียดาย เรามีของดีประจำชาติก็คือศาสนาประจำใจ ทำอะไรก็ประจำเหตุประจำผล มีต้นมีปลาย มีผู้น้อย มีผู้ใหญ่ การเคารพผู้ใหญ่เป็นระเบียบแบบแผน ทำให้เราเกิดวินัย ทำให้เราเกิดวัฒนธรรมของชาติ ปัจจุบันคุณสมบัติเหล่านี้หมดไปเพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ไม่เชื่อฟังครูบาอาจารย์ และออกไปนอกลู่นอกทาง นี่หรือโลกาภิวัตน์ไม่มีความเจริญในโลก แต่มีความเจริญในอบายมุข หาความสนุกในสังคม หันหลังเข้าวัด หันหน้าเข้าวิก ชีวิตแจ่มใสไม่ได้ มีแต่มัวเมาและมัวหมอง ประคองไว้ไม่ได้ดังกล่าวแล้ว มีกิเลสนานาประการ
ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้เป็นวันพระ เมื่อ ก่อนนี้วันพระ คนจำแม่น จำได้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนเด็ก ๆ มาเรียนหนังสือที่วัด เพราะวันโกนต้องเก็บโต๊ะกันเขาจะทำบุญกันในวันพระ หรือเขาจะมีงานศพกัน ก็เก็บโต๊ะเก็บเก้าอี้ เก็บกระดานดำ มีงานบวชนาคก็ต้องเก็บโต๊ะ จึงรู้ว่าเขาทำบุญวันพระ นำข้าวขัน แกงโถ มาถวายพระและสดับพระธรรมเทศนา มันยังฝังแน่นมาตั้งแต่เป็นเด็กเดี๋ยวนี้เด็กโตเป็นหนุ่มเป็นสาวหน้าขาว ๆ ในสังคม ไม่รู้จักคำว่าวันพระ ในปฏิทิน ไดอารี่ก็ไม่มีวันพระแล้ว ไม่มีข้างขึ้นข้างแรม จันทรคติ บางเล่มไม่มีเลย มีแต่วันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ วันที่ ๑ ถึง สิ้นเดือน นี่แหละก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ แล้วอะไรมันจะฝังแน่นหนาในชีวิตของท่าน คงหมดโอกาสไปแน่นอนแล้ว คนโตไม่จำก็ต้องให้เด็กว่า แค่พ่อแม่ก็ยังลืมวันพระไม่รู้ว่าวันพระเป็นวันอะไร วันสร้างบุญทำให้เกิดพระในใจ วันพระเราต้องงดสร้างความชั่ว สร้างตัวให้ดี มีจิตใจเมตตาปรานีอารีเอื้อเฟื้อ ขาดเหลือคอยดูกัน เป็นสาย สัมพันธ์ของบุคคลที่มีคุณธรรมและมีคุณภาพ
เมื่อก่อนนี้ ปู่ย่าตาทวดเรา เรียนหนังสือในศาลาวัดมาโดยตลอด เป็นใหญ่เป็นโตก็อาศัยศาลาวัด เป็นศาลาการเปรียญ ต้องเรียนหนังสือที่ศาลาวัด เดี๋ยวนี้โรงเรียนก็แยกออกไป เด็กไม่เข้าวัด เพราะพ่อแม่ก็ไม่พาเด็กมาวัดแต่ประการใด ในการปฏิบัติหน้าที่ยุคใหม่โลกาภิวัตน์ โลกหมุนเวียนไปสู่ความตายไวที่สุด โลกมีความเจริญ แต่จิตใจไม่พัฒนา จิตใจก็เลวลงไปสู่ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตลอดรายการ ไหนเลยเล่า เทคโนโลยี่จะแก้ปัญหาสร้างความดีในสังคมนั้น ไม่มีแล้ว คนเราขาดการมีน้ำใจขาดกำหนดจิต ขาดน้ำใจชีวิต เป็นภัยต่อสังคม เป็นภัยต่อเหตุการณ์มากหลาย เราท่านทั้งหลายต้องมีน้ำใจนะ ขาดน้ำสิ้นชีวิต ขาดคู่คิดชีวิตยังอยู่
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย โปรดคิด คำว่าโลกาภิวัตน์ พัฒนาโลกอย่างเดียว แต่จิตใจมันเลวลงไป ไม่มีการพัฒนาจิต ชีวิตไม่แจ่มใส ชีวิตจะอับจน จะสวดมนต์ภาวนาก็ไม่เป็น อุทิศส่วนกุศลก็ไม่เป็น แผ่เมตตาก็ใช้ไม่ได้ สมัยโบราณนั้น เขาให้แผ่เมตตาตอนตื่นนอนจะได้โลกสว่าง จะได้ทำงานโลก โลกวิทู แจ้งโลก จะได้ไม่ปิดบังอำพราง ให้แผ่เมตตาตอนตื่นนอน ว่า โลกมนุษย์นี้เต็มไป ด้วยเมตตาปรานี อารีเอื้อเฟื้อ ขาดเหลือคอยดูกัน นอนหลับก็เป็นสุข ตื่นนอนก็เป็นสุข ก็ต้องแผ่เมตตาก่อนนอนหลับก็ไม่เป็นอันตราย ไม่ฝันร้ายแต่ประการใด ก็เกิดผลงานขึ้นมาแก่ตัวของท่านเองโดยเฉพาะอย่างนี้เป็นต้น อันนี้มีความหมายมาก เพราะฉะนั้น การเจริญกรรมฐาน ต้องการมาปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาจิตนั่นเอง ในเมื่อจิตดีแล้วก็ต้องพัฒนา พัฒนาวิชาความรู้ในด้านการศึกษาทุกประการ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเมื่อพัฒนาการ ศึกษาดีแล้ว ก็มาพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบอาชีพการงานอย่างสมส่วน และก็มีวิชาความรู้ จะได้ประกอบความรู้ด้วยการพัฒนา พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคมต่อไป
วันนี้จะให้คติเรื่อง โลภ โกรธ หลง ให้ท่านทั้งหลายฟังว่า เรามานั่งปฏิบัติกรรมฐาน จะได้แก้ปัญหาความโลภความโกรธ ความหลง ของเราได้อย่างไร ก็ติดตามฟังต่อไป ณ โอกาสบัดนี้ ขอเจริญพร เจริญสุขโดยทั่วหน้ากัน ณ บัดนี้ขอได้โปรดตั้งใจฟัง คำว่า ใจเรา จะพัฒนาตรงไหน มีโลภ มีโกรธ มีหลง แต่เรามาเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั่งกรรมฐาน จะรู้ว่า ความโลภเป็นอย่างไร ความโกรธเป็นอย่างไร ความหลงเป็นอย่างไร โลภ โกรธ หลงเรื่องที่เราพูดมาเปลืองเวลา เรามานั่งเจริญกรรมฐานจะรู้ว่าคนที่มีธรรมะเขาไม่หลงงมงาย เขาจะไม่หลงไปสู่จุด มุ่งหมายของคำว่า งมงาย มีความหมายมากอยู่ในพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ทุกประการ
เรื่องที่ ๑ โลเภนะ ชะยะเต เปโต จะเกิดเป็นเปรต คือ คนที่มีความโลภ โทสะก็จะไปเกิดในนรก โมหะก็ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ชัดเจน ชะยะเต นะโตเต จะไปเกิดเป็นเปรตด้วยอำนาจโลภะ ก็เพราะอาศัยความโลภ
เรื่องที่ ๒ โทเสนะ ชะยะเต นิระโย จะไปสู่นรกก็เพราะอำนาจโทสะ
เรื่องที่ ๓ โมเหนะ ชะยะเต ติระฉาโน จะไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉานก็เพราะโมหะ ความหลงเนื่องจากเรื่องที่นี้ล้วนแต่ให้โทษ ให้ทุกข์เป็นอันมาก ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนให้ละเสีย ท่านทั้งหลายก่อนที่จะได้บรรยายตามพุทธภาษิตทั้ง๓ นี้ จะขอถือโอกาสทำความเข้าใจกับผู้ที่ฟัง ผู้ปฏิบัติธรรมสักเล็กน้อยก่อน โดยว่าทาง บ้านเมือง ทางราชการหรือรัฐบาล ก็จะจัดให้มีการอบรมการปฏิบัติธรรมตามนโยบายพัฒนาจิตของรัฐบาล ต้องการให้ประชาชนเข้าหาธรรมะ นี่เป็นแผนของราชการ ต้องการให้ปฏิบัติธรรม แต่จุดประสงค์ก็คือ ต้องการให้ศีลธรรมแพร่หลายเข้าไปสู่จิตใจของประชาชน เป็นแผนงานของ รัฐบาลก็จริงอยู่ เพราะตระหนักดีว่าโลกร่มเย็นเป็นสุขเพราะศีลธรรม แต่เจตนารมณ์นี้ของทางบ้านเมืองที่รัฐวางแผนไว้ จะสำเร็จผลได้ ประชาชนต้องสนใจต่อการปฏิบัติธรรม คือจะต้องปฏิบัติให้ครบวงจรทั้ง ๓ คือ
๑ ตั้งใจฟังด้วยดี
๒ ตั้งใจจำด้วยดี
๓ ตั้งใจปฏิบัติด้วยดี
เมื่อครบวงจรทั้ง ๓ ประการนี้แล้วก็จะมาเข้ากับหลัก ที่ว่า สุดสูสัง ละภะเต ปัญญัง ฟังด้วยดี ย่อมจะเกิด ปัญญา แต่ถ้าพลาดจากหลักเหล่านี้แล้ว ก็จะเข้ากับหลักที่โบราณกล่าวมา ตักน้ำรดหัวเสา คนประเภทตักน้ำรดหัวเสามีมากเหลือเกิน น่าเสียดาย ธรรมดาเสามันเป็นต้นไม้ที่ตายแล้ว ถึงจะพยายามรดน้ำให้มากเพียงไรก็ตาม เสาก็ไม่มีวันที่จะผลิดอกออกใบให้ได้ เหมือนกับผู้ที่ฟังเทศน์ ฟังธรรม โดยมิได้ตั้งใจปฏิบัติ แม้จะฟังตั้ง ๑๐๐ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ กัณฑ์ ฟังกี่คัมภีร์ก็เอาดีไม่ได้ แต่ก็หวังใจว่าท่านทั้งหลายคงจะไม่ยอมเป็นเสาแน่ ๆ จะต้องเป็นต้นไม้ที่พร้อมจะรับ น้ำอยู่ตลอดเวลา ใช่หรือไม่ประการใด แต่ถ้าท่านไม่ต้องการรับน้ำ ท่านก็เป็นไม้ตาย เดี๋ยวนี้ไม้ตายมีมากมายอยู่ใน ตัวคนทั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ที่อื่นแต่ประการใด ถ้าท่านไม่เป็นไม้ตายคนรดน้ำก็จะชื่นใจหายเหนื่อย ทางบ้านเมืองก็จะปลื้มใจ สมดังเจตนารมณ์ของรัฐบาลดังที่กล่าวมาแล้ว
๑ ละจากโลภะ คือ โลภ เมื่อทำความเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ติดตามฟังกันย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ อันดับแรก จะว่าด้วยเรื่องที่ควรจะละ ได้แก่ โลภะ คือ ความโลภ ตามพระบาลีที่ว่า โลเภนะ ชะยะเต เปเต จะเกิดเป็นเปรตก็เพราะความโลภ เพื่อยืนยันความข้อนี้ ก็จะขอ ถือโอกาสนำเรื่องมาเล่าย่อ ๆ ให้ฟังประกอบเสียก่อน ตอนหลังจะได้อธิบายถึงลักษณะของความโลภว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เรื่องที่เล่าต่อไปนี้ มีมาในคัมภีร์ภูมิวิลาสินี มีใจความว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ ประทับอยู่ที่พระมหาวิหาร พร้อมพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารถือกำเนิดเป็นขุนคลัง ทำหน้าที่จัดหาอาหารถวายพระสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้านามว่า ปุสสะเป็นประธาน ต่อเนื่องด้วยพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก ขุนคลังให้พวกญาติ ๆ ของตนมาช่วยกันจัดอาหาร แต่เนื่องจากญาติบางคนโลกในอาหาร แอบบริโภคอาหารก่อนพระสงฆ์บ้าง บางคนก็ส่งไปให้บุตรภรรยา สามีที่บ้านบ้าง เอาไปแบ่งกันกินก่อนที่จะถวายพระบ้าง พวกนี้เมื่อตายไปก็ไป บังเกิดในนรก เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็มาเกิดเป็นปรทัตตูปชีวิกเปรต ส่วนขุนคลังนั้นในชาติสุดท้ายก็มาเกิดเป็นพระเจ้า พิมพิสาร พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ได้ทรงบำเพ็ญบุญกุศลอยู่ตลอดเวลา และได้ทรงสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าด้วย วัดนี้แหละเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฟุ้วัน
คืนวันหนึ่งขณะที่พระองค์กำลังบรรทมหลับสนิทอยู่ก็ต้องสะดุ้งตกพระทัย ตื่นขึ้นก็ได้ยินเสียงร้องอย่างโหยหวนของเปรต จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่เช้าตรู่ นำเอาเหตุการณ์ที่พระองค์ประสบนั้นขึ้นทูลถาม พระพุทธเจ้า รับสั่งว่านั่นคือ เปรตมาขอส่วนบุญ เพื่อความพันทุกข์ของพวกเขาแล้ว พระองค์ก็ทรงแนะนำวิธีที่สามารถจะช่วยเปรตเหล่านั้นให้พ้นทุกข์ได้ โดยทรงแนะว่า ให้พระองค์บำเพ็ญบุญถวายทาน มีข้าว มีน้ำ มีผ้า เป็นต้น แล้วก็กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลไปให้ เปรตเหล่านั้นก็จะพ้นจากทุกข์ทั้งหลายได้ พระเจ้าพิมพิสารก็ถือโอกาสอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่พระราชวังใน วันรุ่งขึ้น หลังจากที่ถวายภัตตาหารเสร็จแล้ว ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม มีผ้าเป็นต้นแล้ว ทรงกรวดน้ำตามบทที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า อิทัง โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนตุ ญาตะโย แปลว่า ขอส่วนทานอันนี้ จงสำเร็จแก่หมู่ญาติของข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอหมู่ญาติทั้งหลายของข้าพ-เจ้า จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ในทันใดนั้นเอง เปรตทั้งหลายเหล่านั้นก็แปรสภาพเปลี่ยนร่างเป็นเทพบุตรและเทพธิดาสมบูรณ์ด้วยข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และวิมาน ซึ่งล้วนแต่เป็นทิพย์ทั้งนั้น เรื่องที่แสดงมานี้ สรุปแล้วก็มีคติเป็น ๒ อย่างคือ
๑ แสดงโทษของความโลภ
๒ แสดงอานุภาพของบุญว่าสามารถจะช่วยผู้ตายให้พันจากความทุกข์ได้สมกับที่ว่า ปุญญานิ ปะระโลกัสมิงปติฏฐา โหนติ ปาณินัง บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ระดับของความอยาก ต่อจากนี้จะได้ชี้แจงเรื่องของโลภะ ความอยากว่า อยากขนาดไหนจัดเป็นโลภะ อยากขนาดไหนยังไม่ถึงขั้นโลภะ กรุณาอย่าเข้าใจไขว้เขวไปเลย ขึ้นชื่อว่าอยากแล้ว จะต้องเกณฑ์ให้เป็นโลภะไปเสียทั้งนั้น ซึ่งยังมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มาก ที่จริงความอยากนั้นที่เห็นกันง่าย ๆ รู้กันทั่วไป ท่านจัดไว้อยู่ ๕ ระดับ ดังต่อไปนี้
๑ รติ แปลว่า ความชอบใจ
๒ อิจฉา แปลว่า ความอยากได้
๓ มหิจฉา แปลว่า ความอยากใหญ่
๔ ปาปิจฉา แปลว่า ความอยากได้โดยวิธีเลว ๆ
๕ โลภะ แปลว่า ความอยากได้โดยวิธีทุจริตผิดศีลธรรม
มีอยู่๕ ระดับด้วยกัน อย่าจำไขว้เขว อย่าแปลว่าโลภะทั้งหมดได้ ต้องแปลเป็น ๕ ลำดับดังนี้
รติ แปลว่า ความชอบใจ อธิบายว่า รติที่แปลว่า
ความชอบใจนั้น เช่น เห็นของสวย ๆ งาม ๆ ถูกอกถูกใจก็เกิดความชอบขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นเสื้อผ้าสวย ๆ รถยนต์คันงาม ๆ ก็ชอบใจ นี่คือ รติ
อิจฉา ความอยากได้ อิจฉานั้น หมายถึงความอยากได้ คือ อยากได้สิ่งที่ชอบนั่นเอง พึงเข้าใจว่า อิจฉา ในที่นี้แปลว่า ความอยากได้ อยากมี ไม่ใช่ริษยา ซึ่งแปลว่าเห็นเขาได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ อย่าเข้าใจผิด
มหิจฉา แปลว่า ความอยากใหญ่ ซึ่งตรงกับชาวบ้านเรียกคนมักมาก คนรู้มาก คนเห็นแก่ตัว คนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น ต้องแปลอย่างนี้ ตัวอย่างเช่น คนที่เข้าไปรับแจกหนังสือในงาน ยกตัวอย่างที่วัด ในวัดแจกหนังสือในงาน เวียนรับเสียสองสามเที่ยว นี่แหละคนมักมากเที่ยวเดียวยังไม่พอ เอาตั้งสองเที่ยว สองเที่ยวไม่พอ เอาสามเที่ยว คนมักมากเวลาทำงานก็เกี่ยงเพื่อนทำไป ส่วน ตัวเองเที่ยวไปเที่ยวมา นี่คือคนรู้มาก คนรู้มากอย่างนี้ คนมักมากอย่างนั้นไม่เหมือนกัน 6 คนรู้มากนี่มันเป็นอย่างนี้ เวลานั่งในรถ ในเรือ ก็เอาของมาตั้งกันท่า ซึ่งแทนที่จะนั่งได้อีกสองสามคน ก็พยายามนั่งเสียคนเดียว นี่คือ คนเห็นแก่ตัว คนเอารัดเอาเปรียบเพื่อนเป็นอย่างนี้หนอ
ปาปิจฉา อยากลามก แปลว่า ความอยากลามก คืออยากได้โดยวิธีต่ำ ๆ เลว ๆ ใครจะติเตียน ใครจะดูหมิ่นเหยียดหยามก็ช่าง ให้ตัวได้เป็นก็แล้วกัน เช่น ขอทานเขาเลี้ยงชีวิตทั้ง ๆ ที่ร่างกายสมบูรณ์แต่ไม่ยอมทำงาน หรืออาชีพบางอย่างที่เรียกกันว่า ขายตัว ก็ความอยากลามกใน ขั้น ปาปิจฉานี้ ถ้าไม่ยับยั้งไว้ ปล่อยให้กำเริบต่อไป ก็จะกลายเป็นโลภะ
โลภะ ความอยากได้โดยวิธีทุจริตผิดศีลธรรม คำว่าโลภะ นั้นหมายถึงว่า อยากได้ในทางทุจริตผิดศีลธรรมเช่น ไปเที่ยวลักขโมย ปล้นสะดมภ์ หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นต้น
ท่านทั้งหลายควรทำความเข้าใจว่า ความอยากที่เป็นโลภะนั้น จะต้องแทรกทุจริตอยู่ในความอยากนั้นด้วยเสมอตัวไม่มี ถ้าไม่คิดจะทำในทางทุจริตแล้ว แม้จะอยากเท่าไรก็ไม่จัดเป็นโลภะ โทษของความโลภ อนึ่ง ความโลภนี่ใช่ว่าจะให้โทษเฉพาะเมื่อตายไปแล้วก็หาไม่ ขณะยังมีชีวิตอยู่ก็ให้โทษเริ่มต้นแต่ทำใจให้เร่าร้อน กระวนกระวายอย่างแผดเผา เพราะทำให้เกิดความตระหนี่ ไม่กล้าเสียสละ ไม่กล้าทำบุญให้ทาน บางที่ก็โลภมาก เลยพลอยทำให้สมบัติเป็นวิบัติไปก็มี ตัวอย่าง ครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และ ลูกสาว ต่อมาพ่อตายไปเกิดเป็นหงส์ทอง ฝ่ายทางครอบครัวก็ยากจนลงทุกที หงส์ทองสงสารจึงอุตส่าห์ไปสลัดขนให้ครั้งละ ๑ ขน ให้แม่ลูกได้อาศัยขนทองคำนี้ขายพอประทังชีวิตสืบมา ภายหลังแม่ก็เกิดโลภมาก เห็นว่าที่หงส์ทองมาสลัดขนให้ครั้งละ๑ ขนน้อยไปไม่พอตั้งตัว จึงปรึกษากับลูกสาว แต่ลูกสาวคัดค้าน ไม่เห็นด้วย แต่แม่ไม่ฟังเสียง
วันหนึ่งเมื่อหงส์ทองมาสลัดขนให้ตามที่เคยปฏิบัติมา แม่ก็แอบจับแล้วถอนขนจนหมดตัว แต่น่าอัศจรรย์ขนเหล่านั้นแทนที่จะเป็นทอง กลับเป็นขนธรรมดา จึงขังเอาไว้ โดยคิดว่าเมื่อขนงอกขึ้นมาใหม่คงจะเป็นขนทองตามเดิม แต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาเป็นอย่างที่เธอคิดไม่ ก็เมื่อขนงอกขึ้นมาใหม่ก็เป็นขนธรรมดา นี่แหละตำราที่ว่า โลภมากลาภหาย คนเราชอบโลภมากกันเหลือเกินยุคใหม่สมัยนี้ มีวิธีปฏิบัติเพื่อลดความโลภ ทำอย่างไร ท่านที่ได้ฟังตัวอย่าง ควรพยายามลดความโลภเสียบ้าง โดยวิธีหมั่นเสียสละ หมั่นให้ทาน หมั่นทำบุญ ท่านว่าคนที่สมบัติมากนั้น ใช่ว่าจะมีความสุขเสมอไป บางที่ทุกข์กว่าคนจนเสียอีก เพราะเป็นห่วงสมบัติ กลัวโจรผู้ร้าย กลัวไฟไหม้จะไปไหนก็ไม่สะดวก พะวักพะวง ห่วงหน้าห่วงหลัง คนร่ำรวยบางคนไม่มีเวลาร้องเพลง เพราะคิดแต่จะหาเงินท่าเดียว เรียกว่า ถมไม่เต็ม ความจริงถึงจะมีบ้านใหญ่โตสักเท่าใด ที่นอนจริง ๆ ก็แค่ ๔ ศอกเท่านั้นเอง อาหารก็แค่อิ่มเดียว ถึงจะมีสมบัติลันฟ้า ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ครั้งหนึ่งพระรัฏฐบาลเถระได้แสดงธรรมถวายพระเจ้าโกรัพยะตอนหนึ่งว่า อูนะ โลโก อะติตโต ตัณหาทาโส แปลว่า สัตว์โลกมีใจพร่องอยู่เป็นนิจ เป็นทาสแห่งตัณหา ท่านผู้รู้จึงเตือนคนที่ถมไม่เต็มว่า ความไม่พอจนเป็น คนเห็นพอแล้ว เป็นเศรษฐีมหาศาล จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จนคิด อ่านแก้จนเป็นคนพอ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ วิธีบรรเทาความโลภให้แก่เราได้
๒ ละจากโทสะ ความโกรธ อันว่าโทสะตามบาลีที่ว่า โทเสนะ นิระยัง คะโต แปลว่า จะไปนรกก็เพราะโทสะ เรื่องที่จะนำมาเล่าประกอบนี้มาจากคัมภีร์ธรรมบทขุททกนิกาย เล่าถึงนายพรานชื่อโกกะ เช้าวันหนึ่งเข้าไปสู่ป่า เพื่อไปจับสัตว์ บังเอิญไปสวนทางเข้ากับพระเถระ ที่กำลังบิณฑบาตอยู่ นายพรานโกรธมาก เพราะถือว่าเป็นโชคร้าย ปรากฏว่าตลอดทั้งวันนายพรานไม่ได้สัตว์เลยเขาก็รีบกลับบ้าน ขากลับก็ไปสวนทางกับพระเถระรูปนั้นอีก โกรธเก่ายังไม่ทันหาย โกรธใหม่ก็โหมซ้ำเข้ามาอีก จึงยุสุนัขให้กัดพระเถระ พระเถระรีบปีนขึ้นไปบนต้นไม้ แม้กระนั้นนายพรานก็ยังไม่ลดละ เอาหอกแทงพระเถระ ทั้งเท้าซ้ายเท้าขวา แม้ท่านจะอ้อนวอนขอชีวิตนายพรานก็ไม่ฟังเสียง ท่านได้รับทุกข์ทรมานเจ็บปวดจนสิ้นสติ ถึงวาระของท่าน คือ จีวรของท่านก็หลุดร่วงมาคลุมร่างนายพรานพอดี สุนับก็เข้ารุมกัดกินเนื้อเหลือแต่กระดูก พอท่านได้สติจึงให้สัญญาณกับสุนัข พอมันรู้ว่ามันกัดผิดคนเลยพากันวิ่งหนีเข้าป่าไป พระเถระค่อย ๆ ไต่ลงจากต้นไม้ด้วยความลำบากเป็นอย่างยิ่ง แล้วไปเฝ้าทูลถามเรื่องนี้แก่พระ พุทธเจ้า ว่าศีลท่านจะขาดหรือไม่ พระองค์ตอบว่า “ศีลเธอยังไม่ขาดหรอก เพราะไม่มีเจตนา เขาทำของเขาเองเวลานี้นายพรานก็ตายไปแล้ว ไปอยู่ที่นรกแล้ว ณ บัดนี้”
อนึ่ง โทสะหรือความโกรธนี้ ซึ่งเป็นกิเลสเครือเดียว กัน เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว ก็เหมือนกับโจรที่เข้ามาปลันเอาเกราะความดีของผู้นั้นไป เริ่มตั้งแต่ทำให้ใจเร่าร้อนกระวนกระวายใจ ปิดบังสติปัญญา หมดความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี พร้อมทั้งเข้าไปบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ บังคับใน สิ่งที่ไม่ควรจะพูด หากระงับไว้ไม่ได้ ก็จะทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้นถึงกับทำร้ายซึ่งกันและกัน ผลก็คือ ชีวิต และคุกตะราง ความโกรธไม่เคยให้คุณประโยชน์กับใครเลย มีแต่ให้โทษให้ทุกข์สถานเดียว พิษของความโกรธ หากจะมีบ้างตามนิสัยปุถุชนก็ควรจะเก็บไว้ในใจ พยายามข่มไว้ด้วย ขันติ ความอดทนที่กำหนดว่า โกรธหนอ… โกรธหนอ…. โกรธหนอ คือ ข่มตั้งสติให้ระลึกอยู่เสมอว่า อย่าไปโกรธเขา โกรธเขา โกรธเรา โกรธเขาได้อย่างไร ขันติทำด้วยการกำหนดกรรมฐาน จะเกิดเมตตา เราระงับความโกรธได้ ก็อาศัยเมตตาปรานีอารีเอื้อเพื้อขาดเหลือคอยดูกัน
ในคัมภีร์พระธรรมบท ขุททกนิกาย ท่านเล่าถึงนาง อุตตราอุบาสิกา ที่ถูกนางสิริมา หญิงแพศยา ที่จ้างมาเพื่อให้บำเรอสามี นางสิริมาเผลอสติ เข้าใจว่าตนเป็นภรรยาของท่านเศรษฐี ก็เกิดความหึงหวง เข้าไปตักน้ำมันที่กำลังเดือดราดลงบนศีรษะของนางอุตตรา แต่ด้วยอำนาจเมตตาจากกรรมฐาน เพราะนางนั่งกรรมฐาน ดลบันดาลให้นางปลอดภัย และก็ไม่โกรธนางสิริมา ทั้งยังห้ามหญิงบริวาร มิให้เข้าไปทำร้ายนางอีกด้วย เพราะคุณธรรมอันนี้คือเมตตานี่เอง จึงทำให้นางสิริมาได้สำนึก ตรงเข้าไปหมอบกราบแทบเท้าของนางอุตตราพร้อมกับขอโทษ แต่นางกลับขอร้องให้ไปขอโทษกับพระพุทธเจ้า นางก็ปฏิบัติตาม ฆ่าความโกรธได้แล้วก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งนั้น ด้วยการเจริญกรรมฐาน ท่านทั้งหลายเมื่อได้พิจารณาเห็นโทษของความโกรธเช่นนี้แล้ว จงพยายามฆ่าความโกรธ ใช้เมตตาธรรม สัมมาปฏิบัติในการเจริญสติปัฏฐาน๔ เมตตาธรรมก็จะเกิดกับท่านทั้งหลาย ก่อนที่ความโกรธจะฆ่าเรา พระท่านว่า โกธัง ฆัตวา สุขัง เสติ ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
๓ ละจากโมหะ ที่นี้ก็มาถึงอันดับ ๓ อันว่าด้วยเรื่องโมหะตามพระบาลีที่ได้ยกขึ้นตั้งไว้ในขั้นต้น โมเหนะ ติระฉานะ โหมิ แปลว่า จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็เพราะโมหะ ความหลงงมงาย เพื่อเป็นหลักฐานจะขอยกตัวอย่างมาประกอบ โดยนำเรืองนางสุชาดามาเสนอพอเป็น อุทาหรณ์ นางเป็นภรรยาของมาฆมาณพ เธอเป็นคนรูป ร่างสวย เธอเลยหลงในรูปสวย หลงผิดคิดไปว่าเธอเป็นภรรยาของมาฆมาณพ ซึ่งเป็นญาติกันอีกด้วย ดังนั้นเมื่อสามีทำบุญ ภรรยาก็ได้บุญด้วย เธอจึงไม่สนใจที่จะทำบุญอะไรเลยทั้ง ๆ ที่สามีอุตส่าห์ชี้แจงชักชวนอยู่เสมอแต่ไม่เกิดผล ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เมื่อเธอตายแล้วจึงไปเกิดเป็นนางนกยาง อยู่ที่เกาะแห่งหนึ่ง ส่วนมาฆมาณพ ซึ่งเป็นชายหนุ่มที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑ เลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดียิ่ง ไม่ให้ตกระกำลำบากแต่ประการใด
๒ เป็นคนสุภาพอ่อนน้อมอ่อนหวาน เคารพผู้ใหญ่ในตระกูลของตน ไม่ลบหลู่บุญคุณแต่ประการใด
๓ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
๔ พูดจาสมานสามัคคี ไม่ยุยงให้ใครแตกสามัคคีกัน
๕ ไม่ตระหนี่ขี้เหนียว หมั่นทำบุญทำทาน
๖ มีสัจจะ พูดจริงทำจริง
๗ ไม่โกรธใคร ฆ่าความโกรธได้ ถึงจะโกรธ ในไม่ช้าก็หาย
นี่คือคุณสมบัติ ๗ ประการของมาฆมาณพ ๗ ประการนี้เธอก็ได้ปฏิบัติตลอดชีวิต และยังเป็นนักพัฒนา รักษาความสะอาด สร้างถนน สร้างศาลาสำหรับให้คนพัก ริมทาง โดยได้รับความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัวและ มิตรสหายเป็นอย่างดีตลอดมา ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลเหล่านี้ เธอจะได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ เสวยทิพยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชาวคณะที่ทำบุญร่วมกับเธอก็ได้ไป บังเกิดในสวรรค์เช่นเดียวกัน เมื่อพระอินทร์ตรวจดูทิพย-สมบัติทุกอย่างก็บริบูรณ์ดี ขาดแต่นางสุชาดาเท่านั้น และทราบว่าบัดนี้เธอไปเกิดเป็นนางนกยาง พระองค์จึงเสด็จลงไปแนะนำให้นางรักษาศีล๕ เพราะอานิสงส์ในศีล ๕ ที่นางรักษา ส่งผลให้ในชาติสุดท้ายได้ไปเกิดเป็นเอก อัครมเหสีของจักรินทร์เทวราชดังที่กล่าวมา
อนึ่ง โมหะความหลงนี้ยังเป็นเหตุทำให้คนหลงทำกรรมหนักขึ้นถึงขั้นอนันตริยกรรมได้ ฆ่าพ่อฆ่าแม่ได้ ฆ่าผู้มีบุญคุณได้ ตัวอย่างของพระโมคคัลลานะ ในอดีตสมัย ท่านยังเป็นหนุ่ม ได้ภรรยาที่นิสัยไม่ดี คอยยุยงสามีให้เกลียดบิดามารดาซึ่งตาพิการ ด้วยความหลงภรรยา เลยลวงเอาบิดามารดาไปทุบเสียในกลางป่า กรรมอันหนักนี้เองติดตามท่านมาตลอดเวลา จนถึงชาติที่เป็นพระโมคคัล-ลานะ กรรมนั้นยังแฝงมาอยู่ในรูปของโจรห้าร้อย มาฆ่า ท่านจนเข้าสู่พระนิพพาน นี่แหละส่งผลแห่งโมหะความหลง ขึ้นชื่อว่าความหลงแล้ว ไม่มีดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะหลงรัก หลงชัง หลงลูก หลงหลาน หลงสมบัติพัสถาน หลงอำนาจวาสนา หลงยศฐาบรรดาศักดิ์ ความหลงเหล่านี้แหละทำให้ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมความแก่ ลืมความเจ็บ ลืมความตาย ลืมบุญลืมกุศล ลืมกระทั่งตัวเอง ท่านเปรียบคนหลงเหล่านี้ว่า เหมือนไก่ในเข่งที่เขาขังไว้เพื่อฆ่าเป็นอาหาร แต่ไก่เหล่านั้นหารู้ไม่ว่า ในเวลาไม่ช้าก็จะต้องโดนเชือดคอแล้ว ไก่เหล่านั้นยังทะเลาะวิวาทจิกตีกัน ยังโก่งคอ ขัน เอกอีเอ้กเอ้ก อยู่ ความสำเริงสำราญอย่างคึกคะนอง แต่ช่างเถอะนั่นเป็นเรื่องของไก่ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนอะไร ส่วนคนเรานี้หนอผู้มากด้วยความรู้มากด้วยคงแก่เรียน ก็ยังเต็มไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะอย่างน่าสมเพชเวทนายิ่งนักหนอ ธรรมโอสถเพื่อละความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่เกินการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน๔ กายานุปัสสนา กายยืนเดิน นั่ง นอน มีสติไว้ พิจารณาเวทนาไว้อย่าหลง แล้วก็โมหะเกิดขึ้น กำหนดจิตรู้ กำหนดจิตมันจะไม่หลงงมงายตลอดไป ทั้ง ๓ ประการนี้ ถึงจะได้ผลด้วยธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน๔ สามารถจะรู้ความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ เราจะโลภกันไปถึงไหน จะโกรธกันไปถึงไหน จะหลงกันไปถึงไหน เพราะในไม่ช้า ต่างก็จะจากกันไปแล้ว ไม่มีใครจะอยู่ค้าฟ้าหรอก
ดังนั้น จงมาช่วยกันบรรเทากิเลสทั้ง ๓ ด้วยการมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานกันเถิดประเสริฐที่สุด อะไรจะดีเท่า ทาน ศีล และภาวนา ทำให้จิตใจเบิกบาน กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะได้ลดน้อยถอยลงไป ด้วยหมั่นนึกถึงความตายไว้เสมอ ท่านทั้งหลาย ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในเรื่องกรรมฐานว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ตาม ความที่จะมีอยู่ในกุศลบุญราศีแก่ท่านทั้งหลายก็ตาม มาเจริญกรรม-ฐาน ตั้งสติสัมปชัญญะทุกประการ ลมหายใจเข้ารู้ พองหนอ… ยุบหนอ… ยืนหนอ ๕ ครั้ง มีอะไรก็กำหนด โกรธหนอ… เสียใจหนอ… ดีใจหนอ… ตลอดรายการ เราจะได้เห็นว่าความตายมีชีวิตอย่างมั่นคงถาวร
ท่านเจ้าคุณศาสนโสภณ ท่านยังแต่งกลอนไว้ว่าระลึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสารบรรเทามีดมัวมันอันตระการ ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจแต่ท่านทั้งหลาย ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลาใดทำใจให้ผ่องแผ้ว เหมือนได้แก้วมีค่าคือราศี เวลาใดทำใจให้ราคี เหมือนมณีแตกหมดลดราคา อันความสุขทางใจ นั้นหายาก คนส่วนมากไม่ชอบเสาะแสวงหา ชอบแสวงหาแต่ความสนุกเพียงหูตา มันจะพาชักจูงให้ยุ่งใจ นี่แหละ ท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ได้ประทานธรรมโอสถ คือ การเจริญกรรมฐาน มีพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ สำหรับแก้โรคโลภ โกรธ หลง ให้ปรากฏในอภิณหปัจจเวกข์คาถา ตอนหนึ่งว่า มรณะ
ธัมโมมหิ เรามีความตายเป็นธรรมดา มะระณังอะนะตีโต ล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ คือยาอันวิเศษที่พระ พุทธเจ้าประทานไว้ ฉะนั้นจึงขอให้ท่านสาธุชนพุทธบริษัท ทั้งหลาย ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ โปรดได้นำยาขนานนี้คือการเจริญกรรมฐานมาใช้ แล้วโรคภัยไข้เจ็บท่านก็จะได้หาย ทั้งโรคภายนอก โรคภายใน ทั้งโรค โลภ โกรธ หลงกิเลส ๓ ประการนี้จะค่อย ๆ ทุเลาเบาบางลง และความร่มเย็นเป็นสุขก็จะพลันบังเกิดขึ้น สมดังความปรารถนาทุกประการ ดังอาตมาภาพได้ชี้แจงแสดงบรรยายมา เรื่องความโลภ โกรธ หลง ก็สมควรแก่เวลา ขอยุติลงคงไว้แต่เพียงนี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้….