เมื่ออาตมาพบสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว
โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า
“ฉันคือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทยจากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”
ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยกรรมฐานมีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น
อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร. กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัว ไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำ พระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวันซึ่งพังลงน้ำ ที่ ก๋งเหล็ง เป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหักพังทั้งนั้นหลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า “พาหุงมหาการุณิโก” ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า “เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
พาหุงมหากา (รุณิโก) คืออะไร
ถึงตอนนี้ผู้เขียนได้กราบนมัสการหลวงพ่อจรัญแล้ว เรียนถามท่านขึ้นด้วยความสนใจว่า
พาหุงมหาการุณิโกคืออะไรขอรับหลวงพ่อ
อ๋อ ก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสหัส ไปจนถึง ทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วยภะวะตุ สัพพมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ
สทาโสตถี ภะวันตุ เต อาตมาเรียกรวมกันว่า พาหุงมหากา
อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระมหาราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคน ก็ทรงมีชัยเหนือกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง
อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้
จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ
ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะว่า ให้สวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า
ไม่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้
“เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้ว นิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญ
รอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ
โยมช่วยบอกญาติโยมด้วยนะ ว่าสวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มาก ๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านให้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลชีวิต”
หลวงพ่อจรัญได้พูดเรื่องพาหุงมหากานี้อย่างละเอียด แล้วท่องให้ฟังด้วยเพราะท่านต้องการให้ผู้เขียนได้จดจำและเอาไปบอกต่อกับท่านผู้อ่านต่อไป
ท่านผู้อ่านที่เคารพ วัดอัมพวันเป็นดินแดนแห่งความสงบร่มเย็นด้วยอำนาจแห่งสติปัฏฐาน การเจริญภาวนา การเดินจงกรม การละเว้นสิ่งที่พึงละพึงเว้น เป็นดินแดนแห่งธรรมะและการหลีกเร้นจากความวุ่นวายของโลกภายนอก เพื่อแสวงหาความสงบแห่งจิตใจ แต่การเข้าไปต้องด้วยศรัทธาอันน้อมนำเข้าไป ไม่ใช่เพราะขัดพวกพ้องไม่ได้หรือเสียไม่ได้
ประตูวัดอัมพวันเปิดต้อนรับผู้แสวงหาสมบัติมนุษย์ ผู้ที่เป็นผู้เจริญด้วยสติปัญญาและการรู้จักคำว่าการคารวะและการเห็นสมณะเป็นอุดมมงคล หลวงพ่อจรัญท่านยินดีให้ธรรมปฏิบัติ และตอบข้อข้องใจในสิ่งที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งชีวิตของผู้ถามและแก่ส่วนรวมทั่วไป และโปรดอย่าลืมคติของหลวงพ่อว่า “มาได้ รอได้ ทนได้ พบได้ ได้ดี” มนุษย์สมบัตินั้น หลวงพ่อว่า แสวงหาได้ไม่ยากด้วยการภาวนาและการปฏิบัติกรรมฐาน
ดอน เจดีย์
จาก น.ส.พ.มหัศจรรย์
เขียนจากคำบอกเล่าของพระครูภาวนาวิสุทธิ์
วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ถวายพรพระ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ว่า ๓ จบ)
๑. พุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)
๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
คีรีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๕) กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินาชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๘) ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
๕. มหาการุณิโก
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต
ชะยะมังคะลัง ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก
สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต
จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
คาถาชนะมาร
ปัญจะมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสสิ ธัมมะจักกัง ปาวัตตะยิ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
บทกรวดน้ำ
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง เม เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เปตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา (โหนตุ) จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือ พาหุง มหาการุณิโก
ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุงมหากาฯ ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ เป็นประจำทุก ๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้าค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ
วิธีสวด
(ก) ตั้งนะโมสามจบ
(ข)
๑. สวดพุทธคุณ
๒. ธรรมคุณ
๓. สังฆคุณ
๔. พาหุง
๕. มหากาฯ ตามลำดับ
(ค) สวดพุทธคุณ (๑) อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑ เช่นอายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ อายุ ๕๔ ปี ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น