Four Weeks As A Monk ๔ อาทิตย์จากการเป็นสมณเพศ

โดย Richard Guard

“ Namo tassa bhagavato, arahato, samma sambuddhasa”

…On the airplane from Osaka, I feverishly repeated the words of the ceremony, over and over, trying to fix them in my mind. In two days I would be ordained, in another country, in a language I didn’t know, and would have to learn, not on these words. But also the customs and behavior expected of a Thai monk. Nervous? I had no time to feel nervous.

In another part of my mind, there was a sense of determination, mingled with apprehension. Could I make good use of this time? For over a year, I had planned to come to Thailand, taking a long vacation from my job in Japan, and live as a monk for four weeks. But for much longer than that, I had felt how wonderful it would be to spend a long period practicing Vipassana meditation. Now was my chance! A chance to look within, to let the waves of thought and emotion subside, so that a deeper awareness could emerge more clearly.

All night I murmured, “Namo tassa bhagavato…” and the rest of the ceremonial phrases, until by the time the plan landed in Bangkok, the Pali words were more or less fixed in my mind. Now the cheerfully busy atmosphere of Bangkok enfolded me, and within a few minutes of passing through customs, my good friends greeted me happily. It felt great to be back in Thailand, a year after my first visit to the “Land of smiles”

We sped north from Bangkok the next morning in a pickup truck. On the way, my friend told me how a monk should behave. “Speak little, eat little, sleep little and meditate a lot” This, she said, was the motto of the abbot of Wat Amphavan, Phra Rajsuddhinanamanggala who would be my kind host for the next month.

After we arrived, and paid our respects at the abbot’s lodging (he was not there, as he was very busy), the secretary, Ven. Narin, made sure that my lodging was all right, and told me that I could ask him for anything I needed. It was reassuring to know that there was someone there who spoke English, since whenever I have been to Wat Amphavan, there have been teachers who could speak English fluently. On my first visit to Wat Amphavan, Mae – Chi Soo Ngoh Sae Eng had given me instruction in Vipassana, as well as helping me get oriented in the monastery,Soo Ngoh is a Singapore nun who is becoming more and more famous as a meditation teacher there. During this year’s visit, she was fully occupied with teaching over thousand people who came to meditate during a long school vacation. However, I was not left without a guide, for it happened that a seniors monk, Ven Maha Booncho, was staying at Wat Amphavan just at they time. He not only spoke excellent English, but was also a scholar, and well – versed in Vipassana meditation. The day before my ordination, he explained the meanings of the Pali words I was to recite, which made my entry into monkhood much more meaningful for me.

For two days I rested, letting the stress of Japanese life dissolve in the peaceful ambience of the monastery. My lodging was a little house in a grove of trees surrounded by a wall. This Compound contained housing for about eighty monks, each in his own house, as the Buddha ordained that each monk should have solitude, to pursue the monk’s goal of serenity and awareness. Buddha Shakyamuni taught, “That which accords with my teaching is that which is conducive to solitude, and conducive to dispassion.”

On the day of the ceremony, many people came to assist me, and guided me through every step of the unfamiliar rituals, from having my head shaved to offering a grand lunch to the assembled monks. With them looking after me, there was nothing to worry about, Except for one thing: after eating some very spicy chili peppers, my stomach rebelled, and I thought it might be difficult to endure a two or three hour ceremony with my digestion out of order. But one friend instantly saw my condition, and offered some medicine that pacified my stomach, and not a moment too soon. The ceremony began fifteen minutes later.

As before, friends guided me carefully throughout the ordination ceremony, and, although I had memorized the words, someone was always ready to prompt me when I hesitated, so everything went very smoothly, accompanied by numerous camera flashes. Later, both the abbot and my friend me photographic records of the ceremony. Fortunately, I guess I hadn’t looked as nervous as I had felt.

After the ceremony, I went straight back to my little house. There was ample space for sitting and walking meditation, two of the three postures used for developing mindfulness and concentration in Vipassana. I was to practice both of these in alternation during the next four weeks, but the third, lying meditation, was beyond my power. Generally, as soon as I lay down, my mind shut off like a light. Sitting down in meditation posture is so easy, and at first we might think it’s like doing nothing! But really meditating seems to me to be the hardest thing in the world to do well. The Buddha taught that the mind is liked a monkey. It is so hard to control; yet only when we can, and have found the secret of peace and clarity, will we finally enjoy real happiness.

Throughout the stay at Wat Amphavan, the injunctions to speak and eat little were not difficult to follow. After all, since I don’t speak Thai, there were few opportunities, or rather temptations, to waste time in idle conversation. However, some of the monks spoke English well enough to communicate their thoughts and feelings. They told me about their deep appreciation for the Buddhadhamma, and how they were trying to transform their lives into something wonderful by their meditation and daily conduct. These conversations, as much as anything else I encountered at the monastery, helped me to strive harder in my practice. I still feel grateful to them for sharing their feelings of devotion.

As for eating, well, the food was certainly delicious and abundant, but after a few mornings of big breakfasts followed by waves of sleepiness of the meditation mat, I started eating less at mealtimes. A monk eats, not for enjoyment, not to improve his appearance, but to sustain life and support his training. So I tried to follow that principle

The third and fourth parts of the motto, sleeping little and meditation a lot, were harder to apply. The first night after arriving, I slept for almost nine hours. The hectic schedule of working life in Japan had left me chronically exhausted, relying on coffee to get away with five hours of sleep a night and demanding days of classes and meeting. But after being in the serenity of the compound for a few days, I settled into a pattern of sleeping fox six hours a night, and taking an hour’s nap in the afternoon. I knew that some other monks slept much less that, that but when I tried to do that, my meditation sessions the next day turned into trips to dreamland. I just couldn’t maintain alertness. So I compromised, and tried to sleep the minimum that allowed me to be alert during sitting.

And although I took every opportunity to meditate, knowing that four weeks was really such a short time, it was a constant struggle for most of my stay. Yet it was a welcome struggle: I knew from the beginning that it would be difficult. The “monkey mind” is reluctant to focus, to let go of the wandering thoughts, of all its fears and fancies. This deeprooted laziness is the reason why the Buddha had to spend so many lifetimes developing his compassion and wisdom, to arrive at the ultimate goal. Again and again, lap plied the method of mindfulness and concentration. Someday, I told myself, I’ll get it right!

Outside the windows of my house, about twenty different species of birds made a wondrous music with their singing. Eerie and lovely to hear at the same time, a very complex interweaving of their different calls. Whistles, clicks and chirps, percussive sounds and melodies all mingled together. But never mind that! I told myself, and returned to watching the rising and falling of my abdomen.

Inevitably, the time passed quickly. My Canadian friends who had done Vipassana meditation for weeks or months had told me that, no longer how long one stays in retreat, it always seems like a short time. It seemed that the first three weeks were spent, embarrassingly enough, in just reducing the babble of my thoughts and feelings, allowing a little quietness to develop. It was really only in the last week that my concentration started to become stronger. And then the day to leave arrived!

My new friends at Wat Amphavan said goodbye. The abbot gave me a talisman for good luck – or, more importantly, to help me remember this experience – and two books of photos of my time at the monastery. As I was leaving, I resolved to keep up my daily practice. In the end, everything a person possesses means nothing, really, even whatever knowledge or skills one might have won’t help past this life. But whatever loving-kindness understanding can be of benefit to countless other people. And whatever happens after we die, if we live this life helping others to find peace and happiness, we are achieving something beyond the “monkey mind”. We can fulfill the promise of this human life.

 

๔ อาทิตย์จากการเป็นสมณเพศ

โดย ริชาร์ด การ์ด

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส

บนเครื่องบินจากโอซาก้า ข้าพเจ้าพยายามท่องจำขานนาคในพิธีบวชกลับไปกลับมา อย่างเอาเป็นเอาตาย ข้าพเจ้าพยายามจดจำมันไว้ในใจของข้าพเจ้า ภายใน ๒ วัน ข้าพเจ้าก็จะเข้าสู่พิธีอุปสมบทในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งใช้ภาษาที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และต้องเรียนรู้ ไม่เฉพาะคำเหล่านี้ แต่รวมไปถึงประเพณี และแบบแผนการประพฤติปฏิบัติที่พระไทยจะต้องทำ ประหม่าหรือข้าพเจ้าไม่มีเวลาที่จะรู้สึกประหม่า

ในส่วนหนึ่งของจิตใจข้าพเจ้า มีความรู้สึกมุ่งมั่นปนเปกับความกลัวเกิดขึ้น ข้าพเจ้าถามตัวเองว่า จะสามารถใช้เวลาต่อไปนี้ให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ กว่าปีมาแล้วที่ข้าพเจ้าได้วางแผนที่จะเดินทางมาประเทศไทย โดยการลาพักร้อนจากงานที่ข้าพเจ้าทำในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ชีวิตอย่างพระภิกษุเป็นเวลา ๔ อาทิตย์ แต่ถ้ามีเวลามากกว่านั้น ข้าพเจ้าจะรู้สึกพิเศษที่ได้ใช้เวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นี่เป็นโอกาสของข้าพเจ้าที่จะดู ศึกษาตัวเอง และให้คลื่นแห่งความคิดและความรู้สึกถูกกดลง เพื่อให้เกิดสติผุดขึ้นมาในจิตใจอย่างใสสะอาด

ข้าพเจ้าพึมพำ “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส” และที่เหลือในพิธีทั้งคืนจนกระทั่งถึงเวลาที่เครื่องบินลงที่กรุงเทพฯ คำบาลีได้ถูกฝังในจิตใจของข้าพเจ้าไม่มากก็น้อย ขณะนี้บรรยากาศอันน่าสนุกยุ่งเหยิงของกรุงเทพฯ ได้ทับถมบนข้าพเจ้า และภายใน ๒ – ๓ นาทีที่ใช้ผ่านเจ้าหน้าที่ศุลกากร ข้าพเจ้าได้พบการต้อนรับจากเพื่อนของข้าพเจ้า มันรู้สึกตื่นเต้น ที่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากมาเยือนสยามเมืองยิ้มครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว

เช้าวันรุ่งขึ้น เราเดินทางขึ้นเหนือโดยทางรถปิกอัพ ระหว่างทางเพื่อนของข้าพเจ้าบอกข้าพเจ้าถึงวิธีการประพฤติตนเองของพระ คือ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรมาก เธอบอกกับข้าพเจ้าว่านี่คือคติจากเจ้าอาวาสแห่งวัดอัมพวัน พระราชสุทธิญาณมงคล ผู้ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพ ให้การต้อนรับขับสู้ผม ในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้านี้

หลังจากเรามาถึงและแสดงความเคารพที่กุฏิหลวงพ่อ (ขณะนั้นหลวงพ่อไม่อยู่ โดยปกติท่านจะมีงานยุ่งมาก) พระผู้ช่วยเลขาฯ หลวงพ่อ คือ พระนรินทร์ ได้ต้อนรับพาข้าพเจ้าไปยังที่พักและบอกข้าพเจ้าว่า หากข้าพเจ้าต้องการสิ่งใดให้บอกกับท่านได้ มันเป็นการยืนยันว่า อย่างน้อยที่วัดก็มีผู้พูดภาษาอังกฤษได้ เพราะว่า ความรู้ภาษาไทยของข้าพเจ้ามีเพียงคำว่า “สวัสดี” “ขอบคุณ” และ “อร่อย” เท่านั้นจริงๆ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าได้ไปวัดอัมพวัน จะมีอาจารย์ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว ซึ่งครั้งแรกนั้น มีแม่ชีซูง้อ แซ่เอ็ง ได้สอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานรวมทั้งช่วยข้าพเจ้าปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ในวัด ซูง้อเป็นแม่ชีชาวสิงคโปร์ ผู้ซึ่งกำลังกลายเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการเยือนวัดในปีนี้ เธอต้องรับหน้าที่สอนวิปัสสนาให้แก่ผู้มาปฏิบัติกรรมฐานที่วัดในช่วงระหว่างปิดเทอม ถึงอย่างไรก็ตามข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกปราศจากผู้แนะนำ เพราะในช่วงนั้น มีพระเถระรูปหนึ่ง คือ พระ ดร.มหาบุญชู กำลังจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ท่านไม่ได้เพียงแต่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างชำนาญ แต่ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างดียิ่ง วันหนึ่งก่อนที่จะถึงพิธีอุปสมบท ท่านได้อธิบายความหมายของคำบาลีที่ข้าพเจ้าจะต้องท่อง ทำให้การเข้าเป็นพระภิกษุของข้าพเจ้ามีความหมายมากยิ่งขึ้น

เป็นเวลา ๒ วันที่ข้าพเจ้าพักผ่อน ปล่อยให้ความเคร่งเครียดวุ่นวายของวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่นละลายหายไปในความสงบสุขของวัด ที่พักของข้าพเจ้าเป็นกุฏิหลังเล็กๆ ในหมู่ต้นไม้ล้อมรอบด้วยกำแพง ในบริเวณนี้มีที่พักสำหรับพระได้ถึง ๘๐ รูป แต่ละรูปอาศัยอยู่ในกุฏิส่วนตัว ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของนักบวชในศาสนาพุทธ ที่จะต้องแสวงหาความวิเวก เพื่อบรรลุซึ่งความมีสติสัมปชัญญะและความสงบสุขแห่งพระธรรม พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า “การประพฤติที่ตรงตามคำสอนของเรา คือการประพฤติเพื่อเป็นไปเพื่อความสงบวิเวก และเพื่อความเป็นอุเบกขา”

ในวันบวช หลายคนแนะนำและสอนข้าพเจ้า ในทุกขั้นตอนของพิธีบวช ที่ข้าพเจ้าไม่คุ้นเคย เริ่มตั้งแต่การโกนผม ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ ทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องกังวลเป็นห่วง นอกจากสิ่งเดียว คือหลังจากที่รับประทานอาหารที่มีรสจัด ท้องของข้าพเจ้าก็เริ่มปั่นป่วน และทำให้ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นการยากที่จะอดทนต่อการเข้าสู่พิธีบวชที่ใช้เวลา ๒ ถึง ๓ ชั่วโมงได้ ในขณะที่ระบบย่อยอาหารของข้าพเจ้ามีปัญหา แต่เพื่อนของข้าพเจ้าผู้หนึ่งได้ให้ยาแก่ข้าพเจ้า ซึ่งช่วยให้ท้องของข้าพเจ้าสงบลงได้ และอีกประมาณ ๑๕ นาทีถัดมาพิธีบวชก็เริ่มขึ้น

เหมือนอย่างเคย พระพี่เลี้ยงได้แนะนำข้าพเจ้าตลอดพิธีบวช และถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะได้ท่องจำบทขานนาคจนขึ้นใจแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องมีพระบางรูปช่วยย้ำเตือนข้าพเจ้าเมื่อถึงเวลาที่ข้าพเจ้าไม่แน่ใจ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดีผสมผสานไปกับเสียงแฟลชของกล้องถ่ายรูปในพิธีบวช หลังจากนั้นหลวงพ่อและพระอาวุโสได้มอบรูปถ่ายของงานพิธีให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าตัวเอง คงไม่ดูตื่นตระหนกบนรูปถ่าย เท่ากับความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้รับในระหว่างพิธีบวชนั้น

หลังจากพิธีบวช ข้าพเจ้าได้ตรงกลับไปยังกุฏิ กุฏิของข้าพเจ้ามีพื้นที่เหลือเฟือที่จะใช้ในการเดินจงกรมและนั่งกรรมฐาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าจะต้องใช้ในการฝึกสติปัฏฐาน ๔ ในช่วงเวลา ๔ อาทิตย์ข้างหน้านี้ แต่ในท่าปฏิบัติของการที่ใช้กายนอนนั้น ข้าพเจ้าคิดว่ามันเกินเลยพลังความสามารถที่ข้าพเจ้ามีอยู่ เพราะว่าโดยทั่วไปแล้ว ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าล้มตัวลงนอน ความรู้สึกนึกคิดของข้าพเจ้าก็จะดับลงด้วยความรวดเร็วราวกับการดับของแสงไฟ การนั่งสมาธิเป็นท่าของการปฏิบัติที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าง่าย และคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า มันเหมือนกับการนั่งโดยไม่ได้ทำอะไรเลย แต่จริงๆแล้วมันเป็นสิ่งหนึ่งในโลกที่ยากที่สุดที่จะทำให้ดีได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “จิตของเรานั้นเปรียบกับลิง มันเป็นสิ่งที่ยากที่จะควบคุมให้หยุดนิ่ง แต่เมื่อเราสามารถทำได้ เราก็จะพบกับเคล็ดลับแห่งความสงบและความสว่างไสวแห่งจิต และเมื่อนั้นแหละ เราก็จะนึกถึงซึ่งความสุขอันแท้จริง”

ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าอยู่ที่วัดอัมพวัน คำสั่งสอนที่ให้ผู้ปฏิบัติ พูดน้อย กินน้อยนั้นไม่เป็นการยากที่จะทำตาม เพราะเมื่อข้าพเจ้าไม่สามารถพูดไทยได้ โอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้สนทนากับพระรูปอื่นก็มีน้อย และความอยากที่จะคุยกับพระรูปอื่นก็น้อยลงด้วย ถึงอย่างไรก็ตาม พระบางรูปที่วัดอัมพวันสามารถที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ดีพอที่จะอธิบายถึงความคิดและความรู้สึกของพวกท่าน เกี่ยวกับความศรัทธาและนับถือที่พวกท่านมีต่อธรรมะของพระพุทธเจ้า และการที่พวกท่าน ได้พยายามที่จะใช้ธรรมะเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกท่านให้ดี และเจริญขึ้นโดยการมุ่งมั่นปฏิบัติกรรมฐาน ตลอดจนกิจวัตรของพระภิกษุ การสนทนาเหล่านี้ ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยข้าพเจ้า มีพลังในการที่จะฝึกปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยความเพียรและความมุ่งมั่นยิ่งขึ้น ข้าพเจ้ายังมีความรู้สึกเป็นหนี้และสำนึกในบุญคุณ ที่พวกท่านได้แบ่งความรู้สึกแห่งศรัทธาและเลื่อมใส ของพวกท่านให้แก่ข้าพเจ้า

ในเรื่องของการรับประทานอาหาร อาหารที่นี่มีรสชาติอร่อยถูกปาก และมีเหลือเฟือที่จะรับประทานหมด แต่หลังจาก ๒ – ๓ วัน ของการฉันอาหารมื้อใหญ่ในเวลาเช้า (บิณฑบาต) ข้าพเจ้าก็รู้สึกเพลียและง่วงนอน ในเวลานั่งปฏิบัติกรรมฐาน ข้าพเจ้าจึงเริ่มฉันอาหารน้อยลง เพราะว่าพระภิกษุฉันอาหารไม่ใช่เพื่อสนุกเพลิดเพลิน หรือเพื่อบำรุงกิเลสตัณหา แต่เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง เพื่อที่ช่วยในการปฏิบัติธรรม ดังนั้นข้าพเจ้าจึงพยายามกระทำตามคำสั่งสอนข้อนี้

ในส่วนที่ ๓ และ ๔ ของคำสั่งสอน คือ การนอนน้อย ปฏิบัติและทำความเพียรให้มากนั้น เป็นสิ่งยากที่จะปฏิบัติตาม ในคืนแรกที่ข้าพเจ้ามาถึงนั้น ข้าพเจ้าได้นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาถึงเกือบ ๙ ชั่วโมง เพราะชีวิตที่ต้องแก่งแย่งในการทำงานที่ญี่ปุ่น ได้ทำให้ข้าพเจ้าหมดแรงและอ่อนเพลีย ซึ่งข้าพเจ้าได้อาศัยเครื่องดื่ม เช่นกาแฟ เพื่อให้ข้าพเจ้านอนเพียงวันละ ๕ ชั่วโมง ในวันที่ต้องมีการอบรมและประชุม แต่หลังจากอยู่ในความสงบของสถานที่ ที่วัดอัมพวัน เป็นเวลา ๒- ๓ วัน ข้าพเจ้าก็เริ่มสามารถปรับตัวให้เข้ากับแบบแผน ของการนอนเพียงวันละ ๖ ชั่วโมง โดยใช้การนอนตอนกลางคืน ๕ ชั่งโมง และนอนกลางวันอีก ๑ ชั่วโมง ข้าพเจ้ามีความรูสึกว่าพระภิกษุบางรูปใช้เวลานอนน้อยกว่านั้น แต่เมื่อข้าพเจ้าพยายามทำตาม แต่ผลการปฏิบัติของข้าพเจ้ากลายเป็นการนอนหลับ ข้าพเจ้าไม่สามารถรักษา การตื่นตัวและสติในการปฏิบัติได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงถือทางสายกลาง โดยพยายามที่จะนอนหลับ โดยใช้เวลาน้อยที่สุดที่จะไม่ทำให้ข้าพเจ้า รู้สึกเคลิบเคลิ้มหรืองีบหลับในเวลาปฏิบัติ

และถึงแม้ว่า ข้าพเจ้าจะพยายามใช้เวลาในทุกโอกาสที่มีอยู่ในการปฏิบัติ โดยรู้ว่าเวลา ๔ อาทิตย์ ที่มีอยู่นั้นเป็นเวลาที่สั้นมาก แต่มันเป็นการที่ต้องต่อสู้ และใช้ความเพียรเป็นอย่างมาก ที่จะรักษาการปฏิบัติให้สม่ำเสมอ และมากที่สุด ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าอยู่ที่วัด ถึงอย่างไรมันก็เป็นการต่อสู้ที่ข้าพเจ้ายินดีที่จะรับ ข้าพเจ้ารู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ยาก จิตที่เปรียบเสมือนลิง ไม่ค่อยยอมที่จะหยุดนิ่ง ที่จะปลดปล่อยความกลัวและตัณหาของมัน ความเกียจคร้านที่ฝังรากลึก อันนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องใช้เวลา เป็นเวลาหลายพบหลายชาติเพื่อที่จะสร้างความเป็นอุเบกขาและปัญญา ที่จะทำให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ข้าพเจ้าใช้วิธีการปฏิบัติของสติ และสมาธิ ข้าพเจ้าบอกกับตัวเองว่า สักวันหนึ่งเราจะต้องสำเร็จให้ได้

นอกหน้าต่างกุฏิของข้าพเจ้า จะมีเสียงนกขับขานหลายชนิด ซึ่งบางครั้งมีทั้งความไพเราะ และเจี๊ยวจ๊าวในเวลาเดียวกัน มันเป็นการยากที่จะรับเสียงต่างๆ เช่น เสียงนกร้อง เสียงเปิดปิดประตู เสียงจิ้งหรีดร้อง เสียงตอกกระทบ และเสียงต่างๆ ประสานกัน ไม่เป็นไร ข้าพเจ้าบอกกับตัวเอง และหันกลับมาสนใจการขึ้นลงของหน้าท้อง พองหนอ ยุบหนอ ของข้าพเจ้าต่อไป

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพื่อนชาวแคนาดาที่มาปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นหลายเดือน ได้บอกข้าพเจ้าว่า การอยู่สันโดษไม่ว่าจะเป็นเวลานานเท่าใด ก็เหมือนกับเป็นเวลาระยะที่สั้น ซึ่งดูเหมือนว่าในช่วงระยะ ๓ อาทิตย์แรกของข้าพเจ้า เป็นการน่าอายมากที่ต้องพยายาม ลดความฟุ้งซ่าน จากความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เพื่อที่จะเสริมสร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ ให้เกิดขึ้นในช่วงระยะสัปดาห์สุดท้าย การควบคุมสติเริ่มทำงานเข้มแข็งขึ้น และแล้ววันเวลาที่ต้องจากไปก็มาถึง

ลาก่อน เพื่อนใหม่ที่วัดอัมพวันของฉันกล่าว หลวงพ่อได้มอบพระแก่ข้าพเจ้า เพื่อระลึกถึงความมีโชคมีชัย และยิ่งไปกว่านั้นก็เพื่อใช้ระลึกถึงประสบการณ์การบวชเป็นพระภิกษุในครั้งนี้ พร้อมกับอัลบั้มรูปถ่ายของการอุปสมบทถึง ๒ เล่ม ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังจะจากวัดอัมพวันไป ข้าพเจ้าตัดสินใจจะตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติกรรมฐานต่อไปในชีวิตประจำวัน เพราะในที่สุดแห่งชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ครอบครองอยู่ก็จะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความชำนาญก็ไม่สามารถช่วยชีวิตจากการตายได้ แต่อย่างใดก็ตาม การมีความรัก ความกรุณาปราณี ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันโดยส่วนรวมให้มีความสงบสุขได้ และอะไรจะเกิดหลังการตายของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติในชีวิตนี้ โดยการช่วยเหลือผู้อื่นให้ประสบความสงบสุข เราก็จะได้ผลลัพธ์บางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจาก จิตของลิง คือเราสามารถบรรลุถึงคุณสมบัติของการกำเนิดเป็นชีวิต มนุษย์

พระปิยวุฒิ อติสโย แปล
ปิยพันธุ์ อินทสุวรรณ์ เรียบเรียง