แก่นแท้
แห่ง
พระกรรมฐาน
หนังสือรวบรวมวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวทางของหลวงพ่อจรัญฯ โดยไม่มีคำสอนหรือความเห็นอื่นใดเข้ามาปะปน เป็นคู่มือไว้อ่านทบทวน และตรวจสอบวิธีปฏิบัติ
สารบัญ
คำปรารภ
ด้วยปณิธาณอันแน่วแน่ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่จะปลุกคนให้ตื่น เสกคนให้เป็นงาน (สร้างคนแทนการสร้างวัตถุ) ตลอดอายุขัยของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงมีแต่ให้กับช่วย ด้วยมุ่งหวังให้ญาติโยมมีความสุข เกิดสติปัญญา แก้ไขปัญหาชีวิตได้
หลวงพ่อมักเทศน์สอนญาติโยมเสมอ วิปัสนากรรมฐานนั้นทำให้มันจริงจะเห็นจริง เอาของจริงไปใช้อย่าเอาของปลอมเลย โดยส่วนตัวกระผมได้มีโอกาสสนทนากับอดีตพระอุปัฏฐากหลวงพ่อร่วม ๑๐ ปี เล่าให้ฟัง
“ถ้าหลวงพ่อสอนกรรมฐานเอง นอกจากท่านจะทำให้ดูแล้ว ท่านจะตามจี้และสอบถามอย่างละเอียด ใครทำไม่ได้ให้กลับไปทำใหม่ ให้เดินให้ดู ให้กำหนดให้ดู ยืนหนอแบบไหน เดินแบบไหน นั่งแบบไหน ลักษณะท่าทางแบบไหน ต้องให้ถูกต้องเป๊ะๆ ท่านถามมา (ต้องตอบได้) ตอบไม่ได้ก็จะให้กลับไปทำใหม่จนกว่าจะเข้าใจ ท่านเมตตามากๆ”
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมวิธีปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงพ่อจากแหล่งข้อมูลต่างๆ (เสียงเทศน์หลวงพ่อ, หนังสือกฏแห่งกรรม, หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรมของวัดอัมพวัน) ไม่มีคำสอนหรือความเห็นอื่นใดเข้ามาปะปน หนังสือจัดพิมพ์ออกแจกจ่ายเป็นธรรมทานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย
เมื่อหลวงพ่อละสังขาร (๒๕ มกราคม ๒๕๕๙) กระผมและน้องๆ ทีมงานจึงปรารภให้แก่นคำสอนในหนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนตัวแทนหลวงพ่อ เป็นคู่มือการปฏิบัติไว้อ่านทบทวน ตรวจสอบ จึงได้ปรับปรุงโดยนำภาพหลวงพ่อสอนกรรมฐานในอิริยาบถต่างๆ เข้ามาประกอบ แต่ยังคงเนื้อหาเดิมไว้ทุกประการ
ขอขอบคุณ คุณนรินทร์ จริโมภาส และกัลยาณมิตรทุกท่านทีมีส่วนร่วมขวนขวายช่วยให้หนังสือเล่มนี้ (ฉบับปรับปรุง) จัดพิมพ์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์
ด้วยความปรารถนาดี
ประมวล วิทยบำรุงกุล
๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
- วิปัสนากรรมฐานเป็นของเก่า
- การกำหนดท้องพองยุบคืออาณาปานสติ
- วิปัสสนากรรมฐาน ต้องทิ้งตำราวิชาการ ทิ้งทิฐิ ไม่รู้ล่วงหน้า
- วิปัสสนึก
- อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควายฯ
- การศึกษาภาคปฏิบัตินี่ยากมาก ไม่ต้องวิจัย ประเมินผล ให้เกิดขึ้นเอง
- ปฏิบัติกรรมต่อเนื่อง ๗ วัน ๗ คืน ได้รับผลแน่
- การปฏิบัติอย่าเอาหลายอย่างมาปนกันจะสับสน
- ทำกรรมฐานยังไม่ได้ ให้สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุง มหากา ก่อน
- การงานคือกรรมฐาน
- เชื่ออะไร ร้ายที่สุดในโลกมนุษย์
- กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มาก
- ปฏิบัติธรรมกี่วันจึงจะสำเร็จ
- วันนี้เพลียมากไม่ต้องสวดมนต์ ไม่ต้องภาวนา อย่างนี้ใช้ไม่ได้
- มาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน จัดว่าเป็นนักบวช
- เสียสละความทุกข์ที่อยู่ในจิตใจ
- ของดีอยู่ที่โยม เอาไปให้ได้
- ทำกรรมฐานอย่ามาทำจิ้มๆ จ้ำๆ อยู่บ้านต้องทำที่บ้านด้วย
- พุทธะไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย
- การเจริญกุศลภาวนาต้องการให้ผุดขึ้นมาเอง
- มานั่งกรรมฐานเพื่อให้เห็นตัวเอง
- คนมีสติคือคนที่เจริญกรรมฐาน ผีไม่เข้า เจ้าไม่สิง
- คนเป็นโรคประสาทเกินกำหนด นั่งสมาธิไม่ได้
- คนที่เจริญกรรมฐานได้ชื่อว่าเป็นญาติในพระศาสนา
- อย่าหมิ่นประมาทต่อพระกรรมฐาน
- มานั่งกรรมฐานต้องละทิฐิมานะ ตัดปลิโพธกังวล
- การละปลิโพธกังวล
- วิปัสสนาไม่มีสำเร็จ ต้องทำไปเรื่อยๆ
- ปฏิบัติธรรมทดแทนน้ำนมแม่ได้
- คนไร้บุญวาสนาช่วยยาก
- สร้างความดีต้องลงทุนความลำบาก
- บวชเนกขัมมะ ไม่ใช่บวชชีพราหมณ์
- หนอ…นี่เป็นคำของพระพุทธเจ้าแท้
- แก้ปัญหาไม่ยากเลย ต้องแก้ตัวเองก่อน
- ปฏิบัติธรรมใครทำ ใครได้
- การเจริญกรรมฐานเป็นการสอนตัวเอง
- กรรมฐานทำทุกวัน ให้เสมอต้นเสมอปลาย
- ด่าพ่อ ด่าแม่มาเจริญกรรมฐาน ไม่ได้ผล ต้องถอนคำพูด ขอสมาลาโทษเสีย
- ธุระในพระพุทธศาสนา
- กรรมฐานมี ๒ ประเภท
- วิปัสสนากรรมฐานคืออะไร
- วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
- สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม สำหรับผู้ปฏิบัติ
- ข้อที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
- ข้อที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน
- ข้อที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน
- ตาเห็นรูปจิตเกิดทางตา ตั้งสติไว้ที่หน้าผาก (อุณาโลม)
- หูได้ยินเสียง ตั้งสติไว้ที่หู
- จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส อารมณ์ที่เกิดจากใจ ต้องกำหนด
- นักปฏิบัติต้องกำหนดทุกอิริยาบถ ไม่ใช่จ้องแต่จะเดินจงกรม หรือจ้องแต่ท้องพองยุบ
- ข้อที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
- ยืนหนอ ไม่ต้องชิดเท้า ให้เอามือไพล่หลัง มือขวาจับมือซ้ายตรงกระเบนเหน็บ
- ยืนหนอ ต้องหลับตา ใช้สติกำหนด วาดมโนภาพ
- ยืนหนอ ต้องใช้จิตปักที่กระหม่อม ไม่ต้องดูลมหายใจ
- ยืนหนอ วิธีปฏิบัตินี้ทำยาก ต้องทำให้ได้จังหวะ ได้ระบบของเขา อย่าไปว่าติดกัน
- ยืนหนอ ไม่ใช่ว่าแต่ปาก ต้องใช้สติอยู่กับจิต ทำให้ได้จังหวะ
- ยืนหนอ ๕ ครั้งกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก (อัสสาสะ ปัสสาสะ)
- ยืนหนอ กว่าอาตมาจะทำได้ ๑๐ ปี
- ยืนหนอจิตเราถากไปทางซ้าย ทางขวา (ไม่รู้สึก) ทำอย่างไร
- ยืนหนอให้ได้ เห็นหนอให้ได้ พองหนอยุบหนอได้ อย่างอื่นไหลมาเอง
- เดินจงกรมต้องลืมตา ให้เพ่งมองที่ปลายเท้า
- เดินจงกรมเหมือนเราเดินปกติ ธรรมดา เพียงเอาสติใส่เข้าไป
- เดินจงกรมให้ช้าสุด เหมือนคนใกล้ตาย
- เดินจงกรมให้ยกส้นสูงจากพื้น ๒ หรือ ๑ นิ้ว ระยะก้าวในการเดินประมาณ ๑ คืบ
- การกลับต้องกลับ ๔ ครั้ง ระยะทางในการเดินจงกรมเพียง ๔-๕ วา เท่านั้น
- กำหนดได้ปัจจุบัน ไม่ได้ปัจจุบัน
- ขาไม่ดี เดินจงกรมไม่ได้ ทำอย่างไร
- เดินจงกรมมีอาการหวิว เวียนศีรษะ ให้หยุดเดิน และกำหนด
- เดินจงกรมมีเวทนา หยุดเดิน เอาจิตปักที่เกิดเวทนา กำหนดเวทนา
- ขณะเดินจงกรมจิตออกไปข้างนอก ให้หยุดเดิน และกำหนด
- เดินจงกรม มีเสียง มีเวทนา ปวดเมื่อย หยุดเดิน ยืนกำหนด
- เดินจงกรม นิมิตเกิด หยุดเดิน ให้กำหนดตั้งสติไว้ที่หน้าผาก
- อานิสงส์การเดินจงกรม
- เดินจงกรมแล้วต้องนั่งสมาธิติดต่อกัน เหมือนด้ายกลุ่มออกจากลูกล้ออย่าให้ขาดสาย
- นั่งสมาธิ จะนั่งสองชั้น ชั้นเดียว หรือขัดสมาธิเพชรก็ได้
- พองหนอยุบหนอ หายใจยาวๆ ให้สังเกตที่ท้อง
- กำหนด พองเป็นยุบ ยุบเป็นพอง แก้อย่างไร
- พองหนอยุบหนอแล้ว อึดอัด กำหนดพอง…ไม่ทัน หนอ…ยุบแล้ว
- ใช้มือคลำแล้ว ไม่เห็นพองยุบ
- เดี๋ยวพองหนอ ยุบหนอ เดี๋ยวพุทโธ ทำอย่างไร
- ง่วงนอน กำหนดที่ไหน
- เกิดเวทนาต้องหยุดพองยุบ เอาจิตปักไว้ตรงที่เกิดเวทนา และกำหนด
- นั่งแล้วผงก โงกไป โงกมา
- วูบ ศีรษะโขกลงไป กระสับกระส่าย โยกคลอน
- ศีรษะก้มลงไปถึงพื้น
- สั่นไม่หาย
- จิตออกตอนไหน รู้ไหม
- ห้ามความคิดไม่ได้ เป็นธรรมชาติของจิต ต้องคอยกำหนดซ้ำๆ ซากๆ อย่าท้อแท้
- กำหนดบ่อยๆ จะรู้ว่าจิตออกไปตอนไหน
- คอยระวังมาก เพ่งมากก็ไม่ดีนะ ตึงไป
- การหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นนั้น ไม่สำคัญ สำคัญที่กำหนดได้ปัจจุบันหรือไม่
- พองยุบเลือนลาง แผ่วเบา ตื้อ ไม่พองไม่ยุบ
- กำหนดพองหนอ ยุบหนอ จับให้ได้ว่ามันหายไปตอนไหน
- จิตคิด ฟุ้งซ่าน สับสนอลหม่าน มีประโยชน์
- พองหนอ ยุบหนอแล้วเหนื่อย
- สมาธิมากกว่าสติ
- อาการวูบ/ผงะ
- เกิดปีติ ขนลุกขนพอง
- นั่งแล้วสบาย ไม่มีอะไรมารบกวน จะไม่ได้อะไร ครูไม่มาสอน จะสอบตก
- มีตัวอะไรมาไต่หน้า ตอมโน่นนี่ คันโน่นนี่ ต้องกำหนดให้รู้จริง
- จิตเท่านั้นที่รวบรวมบุญกุศลไว้ เหมือนเทปบันทึกเสียง
- บุญกรรมมีจริง บาปกรรมมีจริง ยมบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด จดทุกวัน
- ดวงหทัย หายใจเข้าออกอยู่ที่ลิ้นปี่ (กึ่งกลางระหว่างจมูกกับสะดือ)
- ทำไมต้องกำหนดที่ลิ้นปี่
- ลิ้นปี่เป็นขั้วแบตเตอรี่ชาร์จไฟฟ้าเข้าหม้อ
- สติคือตัวกำหนด ไม่ใช่ตัวบังคับจิต
- คำว่า ปัจจุบัน
- ทำกรรมฐานไม่ได้ เพราะไม่ได้กำหนด
- ธรรมชาติของจิต
- การกำหนดนี่ตัวฝืนใจ เป็นตัวธรรมะ เป็นตัวปฏิบัติ
- กำหนดจิต อย่าหายใจทิ้ง เหมือนเปิดน้ำประปาทิ้ง ไม่มีประโยชน์
- สติกำหนดจิต ทำให้ไม่ประมาท
- หนอ…ตัวนี้เป็นการรั้งจิตให้มีสติดี
- จิตอยู่ตรงไหน พัฒนาให้ถูก
- วิธีฝึกเบื้องต้น จิตยังไม่เข้าขั้น ให้พยายามกำหนดให้ต่อเนื่อง
- เจ็บปวดที่ไหน ต้องตามกำหนด ใช้สติควบคุม ไม่ใช่กำหนดเพื่อให้หายเจ็บปวด
- อุเบกขาเวทนา ใจลอยหาที่เกาะไม่ได้ ต้องกำหนด
- เห็นหนอส่งกระแสจิตไว้ที่หน้าผาก (อุณาโลม)
- อดีต อนาคต ไม่เอา เอาปัจจุบัน
- ต้นจิต คือ ตัวอยาก อยากหยิบหนอๆ นี่ต้นจิตเป็นเจตสิกเอาไว้ที่หลัง
- การปฏิบัติหากรู้ว่าทำกรรมอะไรไว้ ต้องกำหนด ไม่ให้ฟุ้งซ่านอยู่ในกรรมนั้น
- สติปัฏฐาน ๔ มีอะไรเกิดขึ้น ให้กำหนด ไม่ปล่อยจิตให้ดิ่งไปเฉยๆ
- ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนครูมาสอน… เราต้องเรียน คือ กำหนดจิตใช้สติตลอดเวลา
- ปวดหนอ กำหนดให้ได้ ตายเป็นตาย
- ตัวธรรมะอยู่ที่ทุกข์ ถ้าไม่ทุกข์จะไม่รู้อริยสัจ ๔
- ปวดหนอตั้งสัจจะ อดทน ฝืนใจ
- เก็บอารมณ์
- อารมณ์รั่ว
- นอนกำหนดพองหนอยุบหนอ สติดีจะนอนไม่หลับ
- โกรธ เสียใจ ต้องกำหนด อย่าให้ค้างคืน
- อธิษฐานจิต อโหสิกรรม แผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล ทำตอนไหน
- อธิษฐานจิต อโหสิกรรม แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล วางจิตอย่างไร
- อธิษฐานจิต คืออะไร
- การแผ่ส่วนกุศล และการอุทิศกุศลต่างกัน
- จะอุทิศ หรือ แผ่ส่วนกุศล ต้องมีทุนก่อน คือ มีบุญกุศล
- จะช่วยคนไหน ให้เขาช่วยตัวเองก่อน
- จะเอากำไรให้ใคร ต้องเอาทุนไว้ก่อน
- แผ่เมตตา ต้องมีเมตตาครบอย่างต่ำ ๘๐ % จึงจะได้ผล
- เวลาใครตายจะอุทิศส่วนกุศล ไม่มีอะไรดีเท่ากรรมฐาน
- การแก้กรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือการเจริญกรรมฐาน
- บทแผ่เมตตา
- บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
“ทำดีได้ดี
ไม่ได้แปลว่า ทำดีแล้วรวย
แต่แปลว่า ทำดีแล้วมีความสุข มีชีวิตร่มเย็น
ไม่เดือนร้อนตนเอง และผู้อื่น”
– พระธรรมสิงหบุราจารย์